ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับฟังก์ชั่นใน Companion

Workflow

การที่จะไปให้ถึงจุดมุ่งหมายอังสูงส่งขององค์กร การนำระบบ CI ไปใช้นั้นผู้นำ/ผู้จัดการ/ผู้บริหารต้องมั่นใจว่าเห็นผลตอบแทนที่ดี Workflow สามารถถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพของโปรเจ็คได้โดย:

  • ลดเวลาในการจัดการทรัพยากร– ระบบ Hopper ในโปรแกรมสามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าโปรเจ็คแต่ละ โปรเจ็คมีความเสี่ยง, ผลตอบแทน และความยากของ โปรเจ็ค เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเอาทรัพยากรที่มีไปลงทุนกับโปรเจ็คไหนดีที่สุด
  • ทำให้การสื่อสารรวดเร็วและสะดวกขึ้น– ระบบแจ้งเตือนและการดูแต่ละขั้นตอนสามารทำให้สื่อสารความพร้อมได้แบบ Real-Time ทำให้โปรเจ็คลื่นไหลไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างง่ายดาย
  • ลดช่องว่างระหว่างการสื่อสารข้อมูล– ใส่ฟิลด์ที่ต้องระบุลงไปในโปรเจ็คจะได้รู้ชัดเจนว่าข้อมูลอันไหนจำเป็นที่จะต้องรู้

Process Mapping

สร้าง flow chart ที่ละเอียดหรือระดับสูงเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและสื่อสารกิจกรรมในกระบวนการ

Process mapping สามารถทำให้ user:

  • เห็นภาพขั้นตอนของกระบวนการ
  • เห็นโอกาสในการปรับปรุง
  • สิ่งที่เราต้องใส่เข้าไปในโปรเจ็คและผลลัพธ์
  • ตั้งขอบเขตของโปรเจ็ค
  • เจาะจงความสนใจ

Process map ของ Companion สามารถเป็นแบบ cross-functional และสามารถโชว์และแชร์ตัวแปรของกระบวนการและเพอฟอร์มแมนซ์เมตริกร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆในโปรแกรมได้

Real-Time KPI Dashboarding

Dashboard ของ Companion นำข้อมูลมาจากโปรเจ็คที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลของส่วนรวมเพื่อที่จะแสดงกราฟและผลสรุปต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามความเป็นจริงของการทำโปรเจ็ค เราสามารถดูผลสรุปทางการเงิน, สถานะของรายงาน, โปรเจ็คส่งผลกระทบอะไรบ้าง, ความห่างเหินของโปรเจ็คจากเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ฯลฯ

สามารถดูภาพรวมของทุกโปรเจ็คหรือดูแบบเดี่ยวๆ เป็นโปรเจ็ค, ทีม หรือแผนกก็ได้ คุณสามารถดู Dashboard ที่ไหนก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ขอแค่คุณมีอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือ

Project List

Project list ของ Dashboard สามารถปรับเปลี่ยนได้ว่าเราอยากให้แสดงข้อมูลอะไรบ้าง คุณสามารถเปลี่ยน “column sets” เพื่อเจาะจงได้ว่าอยากเห็นอะไร หรือเรียงแบบไหน

Tailor-Made Reporting

เราสามารถสร้างรายงานเองได้ว่าอยากจะให้ผู้จัดการหรือผู้บริหารเห็นอะไร หรือใส่ข้อมูลตามที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการต้องการที่จะเห็น

…ในขณะเดียวกันนั้นสามารถสร้างรายงานสำหรับฝ่ายการเงินและโชว์การประหยัดงบรายเดือนหรือรายปีได้

Centralized Data Repository

การจัดเก็บข้อมูลของ Companion นั้นปลอดภัย, มันเป็นการเก็บข้อมูลใว้ในที่ ที่เดียว เหมือนเป็นที่เก็บข้อมูลของส่วนรวม รวมถึงโปรเจ็คของโปรเจ็ครายบุคคลด้วย ซึ่งสามารถจะเปิดจากที่ไหนก็ได้

  • การเก็บข้อมูลนั้นเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวซึ่งสามารถเปิดได้จากทุกที่และปลอดภัย
  • โปรเจ็คที่ถูกสร้างขึ้นนั้นคนอื่นจะไม่สามารถเปิดโดยดีฟอลต์ คนที่สร้างโปรเจ็คจะสามารถตั้งได้ว่าอยากให้ใครมองเห็น โปรเจ็คของตนบ้างโดย Admin จะสามารถมองเห็นโปรเจ็คของทุกคนและมีสิทธิ์ตั้งค่าการมองเห็นหรือเปิดได้
  • ลิงค์สู่การเปิดดูโปรเจ็คสามารถส่งได้ด้วยอีเมล
  • สามารถตั้งค่าได้ว่าอยากให้โปรเจ็คไหนโชว์หรือไม่โชว์ใน Dashboard
  • เราสามารถสร้างโฟล์เดอร์เพื่อจัดเก็บโปรเจ็คได้ ทำให้การจัดระเบียบของโปรเจ็คง่าย
  • โปรเจ็คที่ถูกสร้างขึ้นนั้นคนอื่นจะไม่สามารถเปิดโดยดีฟอลต์ คนที่สร้างโปรเจ็คจะสามารถตั้งได้ว่าอยากให้ใครมองเห็น โปรเจ็คของตนบ้างโดย Admin จะสามารถมองเห็นโปรเจ็คของทุกคนและมีสิทธิ์ตั้งค่าการมองเห็นหรือเปิดได้
  • ลิงค์สู่การเปิดดูโปรเจ็คสามารถส่งได้ด้วยอีเมล
  • สามารถตั้งค่าได้ว่าอยากให้โปรเจ็คไหนโชว์หรือไม่โชว์ใน Dashboard
  • เราสามารถสร้างโฟล์เดอร์เพื่อจัดเก็บโปรเจ็คได้ ทำให้การจัดระเบียบของโปรเจ็คง่าย

Brainstorming Tools

ใช้ Fishbone Diagram, CT Tree, และ Idea Map เพื่อแสดงทุกตัวแปลที่สำคัญหรอเกี่ยวข้อกับกระบวนการและเจาะจงขอบเขตของโปรเจ็คที่ซับซ้อน

เราสามารถสร้างอุปกรของตัวเองได้จาก Template ที่มีอยู่แล้วในซอฟแวร์

ฟังค์ชั่นใน Brainstorm list สามารถทำให้คุณเสนอไอเดียและลากมันไปใส่ไดอะแกรมได้เลยหรือจะลากกลับไปที่ลิสก็ได้

สามารถสร้างตัวแปรจากการ Brainstorm แล้วนำไปใช้ในอุปกรหรือฟังชั่นแนของซอฟแวร์ได้

Quality Function Deployment

ใช้เครื่องมือที่ประสานรวม Pairwise Comparison Matrix, House of Quality (HOQ) และ Design Scorecards ได้อย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องอย่างง่ายดาย

HOQ เป็นวิธีการกึ่งวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการกำหนดว่าหลายๆความต้องการของลูกค้าและความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม และสิ่งใดที่มีอิทธิพลมากสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

นอกจากนี้ตาราง HOQ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณอยู่ระดับใดเมื่อเทียบกับคู่แข่งหลักได้อีกด้วย

Integrated Project Tools

อุปกรณ์ที่มีอยู่ใน Companion desktop app นั้นเฉลียวฉลาดและพร้อมให้ใช้ข้อมูลที่คุณป้อนเข้าไปในอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งสามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้ฉะนั้นคุณจึงต้องป้อนข้อมูลแบบเดียวกันแค่ครั้งเดียว ไม่ต้องใส่ข้อมูลเดิมๆในหลายๆเอกสารและคำร้องขอ

เช่น ถ้าคุณทำ C&E Matrix เสร็จแล้ว คุณสามารถนำตัวแปรทั้งหลายที่อยู่ใน C&E Matrix มาใส่ใน Process Map ได้ทันทีและตอนที่คุณใส่ข้อมูลแล้วจัดเรียงข้อมูลตามความสำคัญจากผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้น Companion สามารถสร้าง Pareto Chart ให้คุณได้โดยที่คุณไม่ต้องสั่งให้มันทำ

คุณสามารถสร้างฟอร์มได้อย่างง่ายดายเพื่อแสดงกราฟ แผนภูมิ หรือข้อมูลที่คำนวณออกมาให้แล้ว

Monte Carlo Simulation

Monte Carlo simulation เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่นำความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของระบบเข้าไปคำนวณด้วยโดยที่มันจะค่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่ใส่เข้าไปในการจำลอง ด้วยฟังก์ชั่นการจำลองนั้น สามารถทำให้วิเคราะห์พฤติกรรมของระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถูกลง และมีโอกาสที่จะปลอดภัยกว่าถ้าเกิดทำการทดลองจริง

ฟังก์ชั่นนี้สามารถตอบคำถามว่า:

  • การที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรที่ป้อนเข้าไปในการทดลองส่งผลต่อการคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์หรือไม่
  • กระบวนการหรือสินค้าของเรานั้นตรงเสปคที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรที่ป้อนเข้าไปในระบบ
  • ค่าตัวแปรของระบบที่เสถียรที่สุดเพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าที่เราตั้งเอาไว้คืออะไร
  • ค่าใดที่ป้อนเข้าไปในระบบแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์มากที่สุด (sensitivity analysis)

Failure Modes and Effects Analysis (FMEA)

ใช้ฟอร์ม FMEA เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่ทำให้เกิดการล้มเหลวและคำนวณค่าความเสี่ยงที่ผูกพันกับแต่ละสาเหตุ

  • อะไรคือสิ่งที่สามารถทำให้กระบวนการนั้นล้มเหลว (ปรกติจะวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอน)
  • จากการล้มเหลวแบบหนึ่ง มันสามารถทำให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปได้ขนาดไหนและมันสาหัสขนาดไหน
  • ความล้มเหลวแต่ละรูปแบบนั้นเกิดได้จากอะไรบ้างและเกิดขึ้นบ่อยขนาดไหน
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดการล้มเหลวจะถูกตรวจจับได้อย่างไรและแก้ไขอย่างไรก่อนที่มันจะส่งผลต่อกระบวนการ
  • FMEA ควรจะต้องมุ่งเน้นไปที่จุดใดในกระบวนการ
  • แผนการแก้ไขปัญหาของแต่ละปํญหาที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Process Control ได้อย่างไร

Companion Design Center & Deep Customization

พอคุณเริ่มใช้ Companion, Data Architect ของคุณต้องปรับเปลี่ยนโครงและฐานข้อมูลของคุณเพื่อที่จะสะท้อนแผนการที่จะทำ CI ขององค์กรคุณ แต่ในขณะที่องค์กรและกระบวนการของคุณเริ่มเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่คุณต้องการหรือคาดหวังก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ดีไซน์เซ็นเตอร์ของ Companion ทำให้การปรับเปลี่ยนและสร้าง template, tools และ data fields นั้นง่ายดาย

ดีไซน์เซ็นเตอร์จะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงที่คุณทำโดยอัตโนมัติ คุณจะได้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อใดและอย่างไร

สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ ถึงแม้ว่า Data Architect จะกำลังสร้าง ปรับปรุง หรือเปลี่ยนโปรเจ็ค template, data definition หรือ forms, มันจะไม่ส่งผลต่อผู้ใช้อื่นๆ และเวลาอัพเดทการเปลี่ยนแปลง จะไม่ทำให้เกิด Downtime สำหรับ user

Roadmaps

Feature Roadmap™ ของ Companion แสดงเส้นทางในการทำ  โปรเจ็คชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าต้องกรอกอะไรบ้างในการทำแต่ละโปรเจ็ค

Companion desktop app จะมี Roadmap template อ้างอิงมาจากวิธีการทำ CI ต่างๆที่พบเห็นบ่อยรวมถึง DMAIC, Kaizen, QFD, CDOV, PDCA, และ Just Do It

แต่ละองค์กรก็จะใช้วิธีที่แตกต่างกันไป หรืออาจจะใช้วิธีเดียวกัน แต่ขั้นตอนในการทำแตกต่างกันไป Companion จึงทำให้การสร้างหรือปรับเปลี่ยน Roadmap ง่าย เพื่อที่องค์กรต่างๆ จะได้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะได้มี Roadmap ที่เป็นเอกลักษณ์เป็นขององค์กร

Value Stream Mapping

ใช้ Value Stream Map เพื่อแสดงให้เห็นแผนภาพการไหลของวัสดุและข้อมูลในขณะที่สินค้าหรือกระบวนการขยับไปสู่ขั้นตอนต่อๆไป

Value Stream คือการจัดเก็บกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง value-added และ non-value-added ที่ก่อให้เกิดสินค้าหรือการบริการที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ

Value Stream Map ช่วยชี้แจงของเสียในกระบวนการและช่วยทำให้คุณเห็นอนาคตที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นของกระบวนการ