การผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และความเป็นเลิศของทีมที่ปฏิบัติงาน (Operational Excellence Teams) เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ให้ประสบผลสำเร็จ

hitachi gregkinsey

Greg Kinsey เป็นที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและที่ปรึกษาผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำแนวปฏิบัติด้านการผลิตของ Hitachi Vantara ใน EMEA เขาและทีมของเขาทำงานร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรมในยุโรปเป็นหลักเพื่อช่วยให้พวกเขามองเห็น วางแผน และดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล จากคำพูดของเขา เขาช่วยให้บริษัทต่างๆ กลายเป็น “ลีนมากขึ้น, เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น, คล่องตัวมากขึ้น, และมีประสิทธิภาพมากขึ้น, โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลเป็นเครื่องมือ”

Greg มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในการทำงานกับอุตสาหกรรมการผลิต โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การบินและอวกาศ และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก เรามองเห็นโอกาสที่ได้รับจากความคิดของเขาในหลายๆ หัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล(Data Science) ในบทความนี้ Greg แสดงถึงวิสัยทัศน์ของเขาเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)


การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) มีความหมายว่าอย่างไร

สำหรับคนทั่วไป การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) คือ การที่เรามองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยในการมองหาเทคโนโลยีนั้นจะมีการตั้งคำถามว่า “เราสามารถใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร” แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลจะเป็นการกระทำมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงมากกว่าตัวเทคโนโลยี มันเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์และการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้อนาคต

คำถามคือคุณต้องการเปลี่ยนอะไร – วิธีการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการผลิต(หรือการทำงาน) รูปแบบธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)  หรือ ตัวผลิตภัณฑ์ และในการเปลี่ยนนั้นจะต้องเป็นแบบไหนและต้องทำอย่างไรบ้าง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (digital transformation) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ที่สามารถทำงานและแข่งขันได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ในอนาคต

เรามักจะตั้งคำถามกับลูกค้าเสมอว่า “อะไรคือวิสัยทัศน์ของธุรกิจคุณ  คุณต้องการที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องไหน หรือ ในปี 2030 คุณต้องการให้องค์กรของตัวเองมีการปฏิบัติงานอย่างไร” และเชื่อไหมว่าส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารมักจะตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ หรือไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ คำถามเหล่านี้สำคัญมากเพราะมันเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ของการทำงานเป็นเลิศและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (digital transformation)

ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน (Operational Excellence) คือ อะไร

โดยทั่วไปความเป็นเลิศของทีมที่ปฏิบัติงาน คือ การทำงานที่มุ่งมั่นให้เกิดไคเซน(Kaizen) มุ่นเน้นไปที่การจัดการปัญหาที่กวนใจในการทำงานประจำวัน เช่น จุดคอขวดของกระบวนการทำงาน จุดที่เกิดการหยุดชะงัก จุดที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นเรื่องความจำเป็นที่ต้องทำเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน แต่ควรจะมีส่วนที่ครอบคลุมไปถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความสามารถในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้สมรรถนะของการทำงานดีขึ้น เปรียบเหมือนการคิดค้นระบบการปฏิบัติงานขึ้นมาใหม่นั้นเอง

ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน จะเป็นส่วนที่ระบุว่า “อะไร” ที่ควรเปลี่ยนไปเป็นดิจิทัล ส่วนเทคโนโลยีจะเป็นตัวบอกว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการจะเป็น ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน มีหน้าที่เป็นตัวเปิดว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เนื่องจากทีมที่ทำงานในสาย IT ไม่ได้มีมุมมองการทำงานที่ใกล้เคียงกับทีมที่อยู่ในสายการผลิตหรือห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ดังนั้นการให้ทีมทำงานจากฝั่ง IT เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลแต่เพียงฝ่ายเดียวทั้งหมดอาจไม่ใช่เรื่องง่าย  

สิ่งที่ท้าทาย คือ จะทำให้ทั้งสองทีมทำงานด้วยกันอย่างไร เพื่อให้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยให้เกิดการความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานจนสามารถบรรลุตามเป้าหมายหรือเป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้


เรียนรู้วิธีที่บริษัท Armstrong Flooring จัดการโครงการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย Minitab Engage

image 3

เมื่อต้องการจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล เหตุใดจึงจําเป็นต้องมีการสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานขึ้นใหม่

ทุกองค์กรในอุตสาหกรรมมีรูปแบบการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของแต่ละองค์กร รูปแบบเฉพาะตัวจะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติงานไปในทางใดทางหนึ่ง บางองค์กรอาจมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติงานรวมอยู่ด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมันจะทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนั้นแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง  

ตัวอย่างเช่น เมื่อ 30 ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่เรียกว่า ลีน- Lean เป็นรูปแบบการผลิตที่มีพื้นฐานแนวคิดแตกต่างออกไป  เช่น ให้ใช้พื้นที่ทางกายภาพลดลงครึ่งหนึ่ง และต้องใช้ปัจจัยตั้งต้นต่างๆ (input) ลดลงครึ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน วัตถุดิบ หรือ กิจกรรมของพนักงานที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต โดยแรงบันดาลใจของแนวคิดนี้มาจากระบบการผลิตของโตโยต้าที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี ในการทำงานแบบลีน คือ การทำงานที่มีแนวคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการทํางานและการพัฒนาพนักงาน

ลองมาดูอีกหนึ่งตัวอย่าง คุณอาจเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรับมือกับลูกค้าที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะในตลาดความต้องการของลูกค้ามีลักษณะที่มีความเฉพาะตัวมากขึ้น ในการสนองตอบต่อความต้องการที่มีความเฉพาะตัวมากขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบปฏิบัติงานขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมซึ่งแน่นอนไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น เงื่อนไขที่เกี่ยงเนื่องกับซัพพลายเออร์ และอาจเป็นผลจากการที่ความต้องการให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจมากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนให้มีการใช้ปัจจัยต่างๆในท้องถิ่นมากขึ้น การผลิตที่ต้องปรับปริมาณการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตที่มี ดังนั้นจึงมีความซับซ้อนในการเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน และยังมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและข้อจำกัดของตลาด ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของคุณ

ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า คุณไม่สามารถทำการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตัลด้วยการทำงานเพียงคนคนเดียว แต่คุณต้องทำผสมผสานกลยุทธ์ที่รวบรวมเทคโนโลยีและเรื่องอื่นเพื่อทำให้ได้รูปแบบการปฏิบัติงานใหม่ที่เหมาะสม

คุณคิดว่าองค์กรสามารถนําความเป็นเลิศของทีมที่ปฏิบัติงาน (Operational Excellence Teams) และ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มารวมกันได้อย่างไร

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าองค์กรที่ไม่ได้เริ่มต้นจากส่วนผู้บริหารมันจะทำให้เกิดผลเสียที่จะย้อนกลับมาทำร้ายองค์กรในที่สุด ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นที่ส่วนผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารต้องให้ความร่วมมือและมีวิสัยทัศน์ที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งหมด หรือคิดในรูปแบบตามแนวคิดของ value stream คือต้องทำตลอดตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้าย

Value stream จะหมายถึง การสร้างหรือเพิ่มมูลค่า การทำงานของคน การเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ ขั้นตอนการทำงานในกระบวนการผลิต ระบบการทำงานของ IT และระบบบริหารและจัดการ ทีมผู้บริหารควรพัฒนาแนวทางที่ทำให้เกิดปรับตัวในทุกๆส่วนแต่ทำให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด  

จัดเรียงลำดับความสำคัญ และหาว่าควรเริ่มต้นที่ตรงไหน ใช้กรณีตัวอย่างที่สำคัญมาเป็นกรณีศึกษา สร้างแผนการดำเนินงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สร้างเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการว่าคืออะไร  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะถูกนำมาสร้างเป็น KPI ในการปฏิบัติงานอย่างไร

การวางแนวทางในการดำเนินงานให้ชัดเจนถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากและต้องทำตั้งแต่เริ่มต้น

สิ่งสําคัญประการที่สอง คือ การรวมกลุ่มข้ามสายงานเข้าด้วยกันโดยมีตัวแทนจากการปฏิบัติงานที่หลากหลาย การริเริ่มสิ่งใหม่ๆจะเกิดขึ้นได้จริงเมื่อคนที่ทํางานในกระบวนการผลิตจริงๆ มามีส่วนร่วม หรือ ในภาษาญี่ปุ่นมีชื่อเรียกว่า Genba ซึ่งมีความหมายว่าสถานที่จริงที่มีการเพิ่มมูลค่า พนักงานที่อยู่หน้างานในโรงงานมักจะมีแนวคิดและข้อมูลเชิงลึกที่สามารถช่วยให้หาวิธีการและการใช้เทคโยโลยีที่เหมาะสมกับการเอามาปฏิบัติ และเนื่องจากพวกเขาจะกลายเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น จึงเป็นเรื่องสําคัญที่เทคโนโลยีนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของพวกเขา

ทำให้เกิดการออกแบบที่มาจากประสบการณ์ของผู้ใช้และการได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ซึ่งถือเป็นเรื่องสําคัญมาก  ไม่ว่าเทคโนโลยีจะดีแค่ไหนแต่ถ้าผู้ใช้งานไม่รู้สึกดีกับเทคโนโลยีนั้น แน่นอนย่อมต้องมีการต่อต้าน วิพากษ์วิจารณ์ จนทำให้เป็นอุปสรรคและไม่ประสบความสำเร็จในการนำมาใช้งาน ดังนั้นหัวใจสำคัญคือ การสื่อสารที่ดีและการค้นหาความต้องการที่แท้จริง

ปัจจัยสําคัญที่นําไปสู่ความสําเร็จของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

ปัจจัยอันดับหนึ่ง คือ การมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมมากกว่าเทคโนโลยี  “นวัตกรรม” ในที่นี้หมายถึงการสํารวจปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขและทําการวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง รวมถึงบางครั้งมันเกี่ยวข้องกับการตั้งคําถาม – “ฉันถามคําถามที่ถูกต้องหรือไม่” มันเกี่ยวกับการทําสิ่งต่าง ๆ เช่นการการศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์เพื่อทําความเข้าใจว่าผู้คนทําสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้อย่างไรและพวกเขาจะทําอย่างไรให้แตกต่างออกไป หรือเพื่อให้เกิดในสิ่งที่ดีขึ้น ทั้งหมดมันคือเรื่องของการทดลองและสรรหาแนวคิด ซึ่งบางครั้งแนวคิดที่สร้างขึ้นมาอาจดูประหลาดไปบ้างแต่ก็อาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึง

ทำไมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตัลถึงล้มเหลว

สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของความล้มเหลว คือ การยึดติดกับการแก้ปัญหามากเกินไป บางครั้งผู้คนก็พลาดท่าคิดว่าวิธีการที่หาได้มานั้นคือการแก้ปัญหา คิดเพียงแค่ติดตั้งเทคโนโลยีขึ้นมาเลยโดยไม่มีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ่งว่าปัญหาที่จะแก้ไขคืออะไร  ในบริบทของความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน เทคโนโลยีเป็นเหมือนสิ่งที่จะเจาะไปยังปัญหาให้ถูกจุด แก้ไขให้ถูกทาง สิ่งนี้ทําให้ผู้คนหันเหความสนใจจากการมุ่งเน้นไปที่การใช้งานและค้นหาวิธีการที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาที่แท้จริง และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ในอุตสาหกรรมไอทีหลายๆกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่นำสู่ตลาดมีลักษณะเป็นไปตามที่กล่าวไว้

สาเหตุที่สองของความล้มเหลว คือ การขาดการจัดการในทีมผู้บริหารตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้

และสาเหตุที่สาม คือ สิ่งที่เรากล่าวมาตอนต้น คือ การให้ความสนใจที่จะติดตั้งเทคโนโลยีจํานวนมาก หรือ เพื่อเปลี่ยนวิธีการที่จะทํางาน การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (digital transformation)  จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนกระบวนการทางวิศวกรรมและการเปลี่ยนแปลงองค์กรหลายส่วน รวมทั้งทำใหเกิดการทำงานแบบดิจิตัล และรวมถึงรูปแบบการบริหารงานทั้งหมดที่ต้องทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน


Joshua Zable หัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดและกลยุทธ์ของ Minitab นำเสนอถึงวิศวกรรมและเทคโนโลยีมารวมกันเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างไร

image 4

อะไร คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

ตั้งแต่ปี 2015 ผู้คนเริ่มพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แนวคิดนี้ค่อนข้างคลุมเครือ แต่สําหรับหลาย ๆ คนมันเป็นเพียงการปรับใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น โดยมีคำที่บัญญัติขึ้นมาก 2 คำ คือ คือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ ((information technology – IT) และ เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology – OT) ซึ่งมุมมองที่เรียบง่ายแบบนี้ก็ดูไม่ค่อยจะถูกต้องนัก เพราะจริงๆแล้วการใช้ IT และ OT ในการทำงานในวงอุตสาหกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ที่มีการนําหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ไอที และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มาใช้ เช่น MES ที่เกิดในช่วงปี 1980

หากเรามองให้ลึกลงไปที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล่านี้ เราจะพบว่ามันคือการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในวิธีการทํางาน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การเปลี่ยนแปลงความสามารถของแรงงาน รูปแบบองค์กร และวิธีการจัดการ รวมถึงรูปแบบทางสังคมและเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม

ประเด็นหลักในการปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้ง คือ

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเฉพาะทาง และงานช่างฝีมือ
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานการทำงาน การผลิตจํานวนมาก และ การทำงานแบบเทย์เลอร์ที่เป็นไปตามแนวคิดของเฮนรี่ ฟอร์ด
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตในรูปแบบระบบดึง (pull system) กับระบบการทำงานที่ผสมผสานหุ่นยนต์และพนักงานเพื่อให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานในรูปแบบการไหลของงานชิ้นเดียว (single-piece flow) การสร้างแผนผังการทำงานแบบรูปตัวยู  และการทำงานตามแนวคิดของโตโยต้า

จะเห็นว่าตลอดระยะ 250 ปี ที่ผ่านมา การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนจากการทำงานฝีมือที่มีลักษณะพิเศษ ไปสู่การทำงานที่มีวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ไปจนถึงการทำงานด้วยหุ่นยนต์ที่มีการทำงานได้เอง

ส่วนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการเปลี่ยนไปสู่งานด้านความรู้ คนงานในอุตสาหกรรมจะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากแรงงานที่ใช้ในการทำงานแต่ค่าแรงที่ให้จะจ่ายไปเพื่อการทํางานที่เกิดจากการใช้ความรู้ คุณค่าหรือมูลค่าที่พวกเขาสร้างจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขารู้ วิธีที่พวกเขานําข้อมูลต่างๆมารวมกันเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน เพื่อแก้ปัญหา เพื่อตรวจสอบกระบวนการและเพื่อจัดการกับการปฏิบัติงาน งานทางกายภาพส่วนใหญ่จะทําโดยเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่ทำงานกึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติทั้งหมด ตามที่เราเห็นกันในในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์หรือโรงงานผลิตยานยนต์ขั้นสูง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนต่างๆของรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมของอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการปฏิวัติครั้งก่อนๆ องค์กรใดที่คิดจะเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ จะต้องไม่คิดแค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้นแต่ต้องนึกถึงรูปแบบโรงงานของคุณที่อยากเห็นในอนาคต ได้แก่ การปฏิบัติงานแบบใดที่สามารถทำให้งานที่ต้องการ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถเหมาะสมกับงาน

และสิ่งสําคัญคือการปรับวิสัยทัศน์ให้การทำงานนั้น พนักงานจะทำงานแบบที่มีการนำความรู้มาใช้ในการทำงานให้ดีขึ้น – ในที่นี้ คือ ดีต่อการทำงานในระดับล่างอย่างไร ดีต่อลูกค่าอย่างไร ดีต่อผลกําไรขององค์กรอย่างไร และเหนือสิ่งอื่นใดคือดีต่อตัวพนักงานคนนั้นเองอย่างไร

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะเข้ามามีบทบาทอย่างไร

ความสามารถในการคาดการณ์ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นด้วยความน่าจะเป็น – นี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ – ความสามารถที่ว่านี้เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (predictive analytic) ฉันนึกภาพไม่ออกเลยว่าจะมีใครบ้างที่ไม่อยากทํานายปัญหาได้อย่างถูกต้องก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ทีมของฉันที่ Hitachi Vantara ได้เริ่มทําโครงการในเรื่องนี้โดยใช้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (data science) เพื่อทําแบบจําลองสาเหตุและผลกระทบล่วงหน้า ซึ่งมักมีการนำมาใช้ในงานการผลิตเป็น 3 กรณี คือ: การคาดการณ์ปัญหาด้านคุณภาพ  การคาดการณ์การหยุดการทํางานที่ไม่ได้วางแผนไว้ และ การคาดการณ์ปัญหาคอขวดในการผลิต

ข้อมูลการคาดการณ์ที่มีในมือผู้ปฏิบัติงานเปรียบเหมือนคำแนะนําให้พวกเขาให้หาวิธีป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น เปรียบเหมือนเป็นการวิเคราะห์ตามคำแนะนำ (Prescriptive analytics)

” การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์นั้นทรงพลัง และโดยพื้นฐานแล้วมันจะเปลี่ยนลักษณะของพนักงานและการทํางานของที่นั่น” – Greg Kinsey

พนักงานในการผลิตมีความคุ้นเคยกับการแก้ปัญหาและทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันได้เป็นอย่างดี เหมือนนักผจญเพลิงที่ต้องคอยดับไฟที่เกิดขึ้นให้ได้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตัลจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการทำงานที่มีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น เมื่อคุณมีความรู้และความเข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ดีมันจะทำให้เกิดสภาวะการทำงานที่คุณสามารถควบคุมได้ดีขึ้น โทรศัพท์ในมือของคุณจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่ทำให้การทํางานประจําวันของคุณมีประสิทธิภาพดีขึ้น คุณรู้ถึงปัญหาหรือเห็นถึงสัญญานเตือนล่วงหน้าว่าปัญหาที่จะเกิดคืออะไร โดยยึดตามข้อมูลที่มีทำให้ลดความเครียดและความเหนื่อยล้าของการทำงานที่ต้องมาตามแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้พนักงานเกิดความมั่นใจมากขึ้นว่าจะสามารถควบคุมการทำงานได้เป็นอย่างดี

คําว่าการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอาจดูเกินจริงไปบ้าง แต่เมื่อผู้คนสามารถควบคุมพลังของข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบทันทีได้อย่างเต็มที่มันจะเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานประจําวันของพวกเขา การปฏิวัติอุตสาหกรรมจะยังไม่เกิดขึ้นจริง ถ้าเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะผู้บริหารในสํานักงาน แต่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่รวมไปถึงผู้ขับขี่ ผู้ทำงานกับเครื่องจักร ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพ และพนักงานซ่อมบํารุงที่อยู่ในสถานที่ปฏิบัติงานจริงๆ (Genba)  เมื่อแรงงานทุกส่วนที่อยู่ในสถานที่ทำงานจริงๆ นั้น ได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่ทํางานด้วยการขับเคลื่อนของข้อมูลนั่นจึงจะหมายถึงการเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แล้วจริงๆ


พร้อมที่จะตรวจดูข้อมูลของคุณและเริ่มดำเนินกิจกรรมทั้งหมดเพื่อการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแล้วหรือยัง?

image 5

มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์อีกสองเรื่องกับ Greg Kinsey:

– Data Science for Everyone: Understanding the Importance of Predictive Analytics. การวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของธุรกิจของคุณ และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถบอกคุณได้ว่าธุรกิจของคุณต้องไปทิศทางใด ตามที่ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม Greg Kinsey ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาด อ่านบทความเพื่อรายละเอียดเพิ่มเติม >

– How to Foster a Culture of Innovation: A Q&A with Greg Kinsey. นวัตกรรมอาจล้มเหลวได้เมื่อยึดมั่นในแผนที่กำหนดไว้ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง นำเสนอ KPI ระยะสั้น และจัดการผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ องค์กรสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม?Innovation can fail when sticking to a set plan, avoiding risks, delivering short-term KPIs, and managing shareholders take priority. What can organizations do to foster a culture of innovation, then? พบคำตอบที่เป็นไปได้ในบทความล่าสุดของเรา >


บทความต้นฉบับ : Bringing Together IT and Operational Excellence Teams for Successful Digital Transformation

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ