เครื่องมือวัด ส่วนที่ 2: การใช้พนักงานวัด 3 คน หรือ ทำซ้ำ 2 ครั้ง เพียงพอหรือไม่?

ในบทความ เครื่องมือวัด ส่วนที่ 1 : .ชิ้นงานจำนวน 10 ชิ้น เพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ว่าการใช้ชิ้นงาน 10 ชิ้น เพียงพอหรือไม่ในการวิเคราะห์เครื่องมือวัด และได้ให้คำแนะนำไว้แต่ละอย่างที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ได้

ตอนนี้ผมจะมาดูอีก 2 ปัจจัยที่ต้องสนใจในการศึกษาเครื่องมือวัด การใช้พนักงานวัด 3 คน หรือ ทำซ้ำ 2 ครั้ง โดยเฉพาะเมื่อถ้าไม่สามารถเพิ่มจำนวนชิ้นงานในการศึกษา (ซึ่งในบทความก่อนหน้านั้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่า คุณไม่สามารถใช้ชิ้นงานจำนวนมากๆได้) แล้วถ้าทำการเพิ่มจำนวนพนักงานวัด หรือ จำนวนทำซ้ำ จะเป็นไปได้หรือไม่

พนักงานวัด (Operator)

เราจะเริ่มจาก พนักงานวัด โดยจะใช้เครื่องมือแบบเดียวกับในบทความส่วนที่ 1 ในการจำลองสถานการณ์ และครั้งนี้จะทำการจำลองสถานการณ์ 2 แบบที่แตกต่างกัน คือ เพิ่มพนักงานวัดเป็น 4 คน แต่ยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้น และทำซ้ำ 2 ครั้ง (ซึ่งเท่ากับจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่จะได้คือ 80 ข้อมูล) อีกหนึ่งสถานการณ์ คือ  เพิ่มจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน และใช้จำนวนซ้ำ 2 ครั้ง แต่ลดจำนวนชิ้นงานลงเป็น 8 ชิ้น ซึ่งทำให้จำนวนการทำการทดลองทั้งหมดลดลงใกล้เคียงกับที่เริ่มต้น (ของใหม่คือ64 ข้อมูล ซึ่งใกล้เคียงกับของเดิมคือ 60 ข้อมูล ซึ่งเป็นการทดลองเริ่มต้น)
และ

การเปรียบเทียบการทดลองแบบต่างๆตามกราฟ

operator comparisons
operators desc

จากกราฟอาจไม่ได้แสดงผลอย่างชัดเจน  แต่การเพิ่มจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน แต่ลดจำนวนชิ้นงานเหลือ 8 ชิ้น ทำให้ความผันแปรเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้จากค่า %Contribution ดังนั้นตัวเลือกนี้ ทำการทดลองทั้งหมดเพิ่ม 4 ครั้ง ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี ส่วนการทดลองที่ใช้พนักงานวัด 4 คน และยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 80 ครั้ง)  ไม่ได้แสดงผลการปรับปรุงที่มีนัยสำคัญใดใดจากการทดลองมาตรฐาน

จำนวนการทำซ้ำ (Repeat)

ตอนนี้มาดูจำนวนการทำซ้ำ ซึ่งเราจะทำการศึกษาเหมือนกัน คือ ทำการจำลองสถานการณ์ด้วยการเพิ่มจำนวนซ้ำเป็น 3 ครั้ง โดยยังคงใช้ชิ้นงาน 10 ชิ้น และ พนักงานวัด 3 คน เหมือนเดิม (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 90 ครั้ง) ส่วนอีกสถานการณ์คือ เพิ่มจำนวนซ้ำเป็น 3 ครั้ง โดยยังคงใช้พนักงานวัด 3 คน แต่ลดชิ้นงานเหลือ 7 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 63 ครั้ง)

และผลการเปรียบเทียบการทดลองแบบต่างๆ คือ

replicate comparisons
replicates desc

และผลที่ได้รับเป็นแบบเดียวกับที่ได้จากการเปลี่ยนจำนวนพนักงานวัด การเพิ่มจำนวนทำซ้ำเป็น 3 ครั้ง เพื่อให้ลดจำนวนชิ้นงานเหลือ 7 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 63 ครั้ง) ทำให้ความผันแปรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ การเพิ่มจำนวนการทำซ้ำ 3 ครั้ง โดยที่ยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้นเท่าเดิม ไม่ได้ปรับปรุงผลใดใด

สรุปผลเกี่ยวกับพนักงานวัดและจำนวนการทำซ้ำในการศึกษาเครื่องมือวัด

จากที่กล่าวไว้ด้านบน เราทำการดูผลกระทบที่มีต่อค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของระบบการวัดทั้งหมดเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการศึกษา จากการเปลี่ยนจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน และ จำนวนการทำซ้ำเป็น 3 ครั้ง จะไม่เห็นผลการปรับปรุงใดใดที่มีต่อค่าประมาณ %Contribution หรืออาจจะทำให้ผลที่ได้นั้นแย่ลงด้วย ในบางครั้งคุณอาจจะมีความพร้อมที่จะทำการทดลองเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องมากขึ้น แต่ควรจะเลือกการทดลองแบบใดนั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องเลือก

สถานการณ์ที่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้าคุณสามารถทำการทดลองเพิ่มได้ คือ การเพิ่มจำนวนชิ้นงาน

แล้วการเลือกชิ้นงานเพื่อมาทำการทดลองนั้น ควรทำอย่างไร ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป


see Part I of this series
see Part III of this series


บทความต้นฉบับ : Gauging Gage Part 2: Are 3 Operators or 2 Replicates Enough?

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ