แนวคิดและตัวชี้วัด ของ Six Sigma (ตอนที่ 1)

คุณรู้หรือไม่ว่าการเจียระไนเพชรแบบไหนเป็นที่นิยมที่สุด ในยุคแรกของการเจียระไนเพชร อาจจะเป็นการเจียระไนแบบทรงกลม (Round Brilliant) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากชาวอิตาเลี่ยนชื่อ  Vincent Peruzzi อยู่ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 17 จนมาถึงช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 Marcel Tolkowsky ได้คิดค้นการเจียระไนแบบใหม่ โดยออกแบบมุมของการเจียระไนเพชรขึ้นใหม่เป็นการเจียระไนแบบอุดมคติ (“ideal” diamond cut) และตั้งแต่นั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ แต่ก็มีความคล้ายคลึงกับสูตรที่ Tolkowsky ได้คิดค้นไว้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน

Six Sigma เป็นที่รู้กันว่าเริ่มต้นจากความพยายามในการพัฒนาของผู้ทำงานในสายคุณภาพในช่วงต้นของศตวรรษ 19 โดยวิธีการที่ใช้ก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งยืนยันถึงความมีคุณค่าของแนวทางการทำงานแบบนี้เช่นเดียวกับการพัฒนาวิธีการเจียระไนเพชร

จากคำพูดของ Lord Kelvin ที่พูดถึงหัวใจหลักของแนวคิดและตัวชี้วัดของ Six Sigma

ผมมักจะบอกเสมอว่าถ้าคุณสามารถวัดได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังพูดถึงอยู่มีค่าเป็นตัวเลขเท่าไหร่ แปลว่าคุณรู้ถึงสิ่งนั้นที่คุณพูดถึงอยู่ แต่ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งนั้นเป็นตัวเลขได้ แปลว่าคุณมีความรู้ในสิ่งนั้นไม่มากพอ……

ถ้าคุณไม่สามารถวัดค่าในกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ได้หมายความว่าคุณมีความเข้าใจในสิ่งนั้นไม่มากพอ บางครั้งอาจจะต้องใช้จินตนาการในการคิดค้นวิธีการวัดค่าของกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ แต่เกือบทุกครั้งมันมีทางเป็นไปได้ทั้งนั้น

Six Sigma ก็เหมือนกับเพชรที่มีหลายด้าน เราสามารถอธิบายได้ในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเชิงปรัชญา ชุดเครื่องมือ วิธีการ และ ตัวชี้วัด

Six Sigma คือ ปรัชญา (Philosophy)

ผู้ดำเนินกิจกรรม Six Sigma  พยายามจะทำความเข้าใจกระบวนการโดยดำเนินการตามขั้นตอน defined, measured, analyzed, improved และ controlled โดยจะมองว่ากระบวนการผลิตจะใช้ปัจจัยตั้งต้น (input) ค่า X เพื่อผลิต ผลลัพธ์ (output) ค่า Y

ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจวิธีการควบคุมปัจจัยตั้งต้นได้ คุณก็สามารถจะควบคุมผลลัพธ์ได้เช่นกัน โดยจะใช้สมการคณิตศาสตร์ y = f(x) เป็นตัวอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตั้งต้นและผลลัพธ์ จากสมการเส้นตรงในรูปด้านล่างนี้แสดงให้เห็นว่า ค่าตัวแปร X (อุณหภูมิ:Temperature) เพิ่มขึ้น ทำให้ ค่าผลลัพธ์ Y (ความแข็งแรง:Strength) มีค่าลดลง

1 1

จากสมการเส้นตรงในตัวอย่างนี้เป็นสมการง่ายๆ แต่ในชีวิตจริงกระบวนการผลิตที่เราศึกษาอาจจะมีความซับซ้อนกว่านี้เพราะอาจจะมีปัจจัยตั้งต้น 5 หรือ 20 ตัวหรือมากกว่านั้น แต่ด้วยหลักการของ DMAIC จะทำให้เราสามารถลดจำนวนปัจจัยตั้งต้นให้เหลือเฉพาะแต่ตัวที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้เราทำความเข้าใจและควบคุมความสัมพันธ์ของตัวแปรได้

Six Sigma คือ ระเบียบวิธี (Methodology)

ผู้ดำเนินกิจกรรม Six Sigma มักจะใช้ระเบียบวิธี DMAIC (Define, Measure, Analyze, Improve, และ Control) เพื่อระบุและวิเคราะห์ปัญหา และถือเป็นระเบียบวิธีที่ให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

ผมมักจะเปรียบเทียบกระบวนการ Six Sigma DMAIC เป็นเหมือนการต่อภาพตัวต่อ (jigsaw puzzle) ในขั้นตอนการต่อภาพตัวต่อ จะเริ่มจากการนำตัวต่อออกจากกล่องทั้งหมด หงายด้านที่เป็นรูปภาพขึ้นและเริ่มต่อจากส่วนที่เป็นมุมและขอบ จากนั้นต่อภาพจากส่วนกลางโดยการมองภาพเปรียบเทียบที่อยู่บนหน้ากล่อง โดยวิธีนี้จะทำให้การต่อภาพตัวต่อมีประสิทธิภาพที่สุด

2 1

เมื่อใช้กระบวนการ Six Sigma DMAIC อย่างถูกต้องจะทำให้กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์มีการปรับปรุงผลให้ดีขึ้นทั้งประสิทธิภาพ (efficient) หรือประสิทธิผล (effective) หรือทั้งสองอย่าง

Six Sigma คือ ชุดเครื่องมือ (Set of Tools)

ผู้ดำเนินกิจกรรม Six Sigma จะใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการผลิตเครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ การรับฟังเสียงลูกค้า (Voice of the Customer) การระดมสมอง (Brainstorming) และการลงคะแนนแบบคละ (Multi-voting) ในขณะที่เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แผนภูมิควบคุม (Control Chart) แผนผังสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) และ ANOVA

3

ถ้าคุณเป็นเหมือนผม เครื่องมือที่มีให้ผมเลือกใช้มีมากมาย แต่ผมไม่สามารถใช้เครื่องมือทั้งหมดได้ในหนึ่งโครงงานถึงแม้ว่าผมอยากจะใช้มันก็ตาม ดังนั้นเราจะต้องเลือกเครื่องมือที่ให้สาระข้อมูลและช่วยหาทางแก้ปัญหาได้ เปรียบเหมือนกับการต่อภาพตัวต่อ บางครั้งคุณอาจจะต้องเลิกต่อชิ้นนั้นก่อนเพราะไม่รู้ว่าจะนำมันไปวางไว้ตรงไหนของภาพ และทำการหยิบชิ้นอื่นมาต่อไปเรื่อย ๆ

จงจำไว้ว่า ไม่ใช่เครื่องมือทุกอย่างที่ถูกเลือกมาจะสามารถหาทางแก้ปัญหาใน Six Sigma ได้ แต่ขอให้จำไว้ว่าทางใดที่ไม่ทำให้คุณแย่ไปกว่าเดิมก็ให้เดินตามทางนั้น

Six Sigma คือ ตัวชี้วัด (Metric)

ถึงแม้ว่าคุณต้องการจะให้ได้ตัวชี้วัดที่มีมุมมองที่สอดคล้องกัน ซึ่งตัวชี้วัดใน Six Sigma มักจะเป็นตัววัดที่เกี่ยวเนื่องกับความสามารถและสมรรถนะ (capability and performance) ของกระบวนการผลิต และตัวชี้วัดเหล่านี้มักจะมีความสัมพันธ์กับค่า Big Y

4

ตัวชี้วัดที่ถูกเลือกมาจะถูกต้องนั้นต้องขึ้นกับชนิดของข้อมูลของเรา บางครั้งตัวชี้วัดที่ต้องใช้เพื่อให้เหมาะกับข้อมูลแบบนับ(discrete data) หรือบางครั้งเพื่อให้เหมาะกับข้อมูลแบบต่อเนื่อง (continuous)เปรียบเหมือนกับการตีกอล์ฟที่ต้องเลือกไม้ตีจากถุงกอล์ฟให้เหมาะกับสถานการณ์ ซึ่งอาจหมายถึงระยะทางและลักษณะสนาม นักกอล์ฟส่วนมากจะมีไม้กอล์ฟในถุงแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็น หัวไม้หนึ่ง (drivers) ชุดเหล็ก (irons) ชุดเวดจ์ (wedges) และ พัตเตอร์ (putters)

ในบทความส่วนที่ 2 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ แนวคิดของความผันแปรใน Six Sigma และความแตกต่างระหว่างความผันแปรระยะสั้น/ระยะยาว (short/long-term variation) และความแตกต่างระหว่าง/ภายในกลุ่มย่อย (between/within-subgroup variation) 


1William Thomson, most famously known as Lord Kelvin, was an Irish and British mathematical physicist and engineer who was born in Belfast in 1824. Lord Kelvin is most widely recognized for determining the correct value of absolute zero as approximately −273.15 Celsius. 
– Wikipedia


บทความต้นฉบับ : Six Sigma Concepts and Metrics (Part 1)

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ