คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ(Multivariate Control Chart)

ปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูล ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับจากเว็บไซด์และจากลูกค้าสัมพันธ์หรือจากอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ (เซมิคอนดักเตอร์ ยา ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ)

แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเดี่ยว (Univariate Control Charts)

ในอุตสาหกรรมการผลิต คุณลักษณะสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เป็นค่าวิกฤตจะมีการเก็บข้อมูลทุกวันเป็นประจำเพื่อทวนสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นทุกขั้นตอนการผลิตยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเฉพาะ โดยการใช้เครื่องมือแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเดี่ยว (Univariate Control Charts ) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนไปที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ในทางทฤษฎีเมื่อค้นพบสาเหตุผิดปรกติ (Special cause) จะต้องมีการหยุดกระบวนการทำงานเพื่อทำการแก้ไขให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะดำเนินงานต่อไป

เครื่องมือในการตรวจติดตามพารามิเตอร์ของกระบวนการ (Monitoring Tool Process Parameters)

ปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมการผลิตจะมีเครื่องมือในการผลิตมากมายที่ทำการเชื่อมต่อไปยังระบบไอทีเพื่อทำการเก็บข้อมูลตัวแปรในกระบวนการผลิตแบบ real time (เช่น ความดัน อุณหภูมิ) แต่ยังมีข้อมูลบางประเภทที่ไม่ได้ทำการติดตามตลอดเวลาและอาจเป็นพารามิเตอร์ที่สะท้อนถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในกรณีที่มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ข้อมูลของพารามิเตอร์กระบวนการจากขั้นตอนการทำงานต้นน้ำ (Upstream) จะถูกดึงมาจากฐานข้อมูลเพื่อทำการค้นหาสาเหตุว่าทำไมข้อผิดพลาดนั้นจึงไม่ทำการค้นหาและแก้ไขตั้งแต่แรก

แนวคิดที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับพารามิเตอร์ของกระบวนการแบบ real time และการทำความเข้าใจอิทธิพลที่ซับซ้อนของกระบวนการ คือการหาว่าพารามิเตอร์กระบวนการตัวไหนมีความสำคัญจริงๆและตัวใดไม่ใช่และค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดควรเป็นอย่างไร

แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ (Multivariate Control Charts)

เครื่องมือที่ใช้ตรวจจับพารามิเตอร์ของกระบวนการในขั้นตอนต้นน้ำอาจทำให้จำนวนแผนภูมิควบคุมที่ต้องใช้มีจำนวนมากขึ้น แต่อย่าไรก็ตามในบทความนี้วิศวกรการผลิตอาจจะได้เรียนรู้ประโยชน์ของแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ ที่ทำให้คุณสามารถตรวจติดตามพารามิเตอร์ 7-8 ค่าได้ในแผนภูมิเดียว และไม่เพียงแต่ใช้เครื่องมือนี้ในการค้นหาสาเหตุของข้อผิดพลาดด้านคุณภาพในงานเฉพาะหน้าเท่าหน้า แต่ยังเป็นแนวคิดสำหรับงานปรับปรุงในระยะยาวอีกด้วย

แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ มีพื้นฐานจากการใช้ระยะห่างของตัวแปรพหุกับค่าเฉลี่ยกำลังสอง ใน Minitab ใช้วิธี T2 Hotelling ในการสร้างแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ ถ้าคุณยังไม่มี Minitab และคุณอยากลองสร้างแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ คุณสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อทดลองใช้งานได้ฟรี 30 วัน (free 30-day trial)

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุคือทำให้คุณลดจำนวนแผนภูมิควบคุมที่ต้องใช้งาน แต่ยังมีประโยชน์ในข้ออื่นๆอีกด้วย

ความสามารถในการวิเคราะห์พารามิเตอร์ร่วมกัน(Analyzing process parameters jointly): เนื่องจากพารามิเตอร์ของกระบวนการมันจะมีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น จากขั้นตอนการผลิตหนึ่ง เราจะมีค่าความดันวาล์วที่มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การที่เราแยกพิจารณาพารามิเตอร์อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีและอาจทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาด และการที่เราสามารถตรวจจับได้ว่าค่าพารามิเตอร์ที่เราตั้งไว้ในการทำงานไม่เหมาะสมกัน อาจเป็นประโยชน์ในการทำงานของเรา

จากกราฟด้านล่าง ค่า Y1 และ Y2 เป็นพารามิเตอร์ที่มีความสัมพันธ์กัน (ค่า Y1 สูง มีความสอดคล้องกับค่า Y2 สูง) ดังนั้นที่ในมุมมองของการดูตัวแปรพหุ จุดสีแดงของกราฟ ด้านขวามือล่าง เป็นจุดที่ออกนอกเขตควบคุม (out-of-control) หรือ ออกนอกวงรี (ซึ่งเป็นเขตควบคุม)  จากมุมมองของตัวแปรเดี่ยว จุดสีแดงนี้จะยังเป็นเพียงแค่การแกว่งตัวของค่า Y1 และ Y2 ซึ่งยังไม่ได้หลุดออกนอกเขตควบคุม แต่อย่างไรก็ตาม จุดนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการตั้งค่า Y1  และ Y2 นั้นไม่เข้ากัน ซึ่งถ้าดูจาก scatter point ของค่าระยะห่างของจุดสีแดงกับค่าเฉลี่ยจะพบว่ามีค่ามากอย่างชัดเจน

f10e8ed1b4bf1119ff8a150b57a4109b

อัตราโดยรวมของการเกิดสัญญาณเตือนที่ไม่จริง (Overall rate of False alarms): ถ้าค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดสัญญาณเตือนที่ไม่จริง (false alarm) ของเกณฑ์ 3s ที่เป็นขีดจำกัดของแผนภูมิควบคุม คือ 0.27% คือ ถ้าใน100 แผนภูมิที่ใช้ในการควบคุม ในช่วงเวลาเดียวกัน ความน่าจะเป็นที่จะเกิดสัญญาณเตือนที่ไม่จริงจะเพิ่มขึ้นเป็น 27%  (0.27% * 100)

อย่างไรก็ตามเมื่อตัวแปรที่ต้องตรวจติดตามมีจำนวนมาก การใช้แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ เพื่อตรวจติดตามในเวลาเดียวกันในแผนภูมิเดียวกัน จะทำให้อัตราโดยรวมของการเกิดสัญญาณเตือนที่ไม่จริงใกล้เคียง 0.27%

3-D Measurement เมื่อการวัดแสดงในรูปแบบ 3 มิติ ข้อมูลที่มีจะต้องสามารถแสดงได้ในทุกมิติ (X Y และ Z) พื้นที่ในเขตข้อกำหนดเฉพาะอาจมีขนาดใหญ่พอประมาณ แต่ผลิตภัณฑ์ที่บกพร่องมันจะอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉพาะหนึ่งพื้นที่ และมันมักจะแสดงในมิติที่มากกว่าหนึ่ง ดังนั้นควรจะทำการพิจารณาในเชิง 3 มิติ แยกออกมา แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุจะสามารถตรวจจับความเบี่ยงเบนของทั้ง 3 แกน คือ X Y และ Z อิทธิพลร่วมที่เกิดขึ้นของทั้งสามแกนนี้จะนำมาพิจารณาพร้อมๆกัน

ตัวอย่าง

พารามิเตอร์ของกระบวนการ 8 ค่า ซึ่งมีการใช้แผนควบคุม Xbar เพื่อตรวจจับในแต่ละค่า และพบว่าไม่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น (จากแผนภูมิทั้ง 8 กราฟด้านล่าง)

f97a659a70088e92e8d3b7dcf8eccf56
3d1ed649902069763005626f6bd40271

แผนภูมิควบคุมทั้ง 8 จะถูกแทนที่ด้วยแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ เพียงแผนภูมิเดียวที่จะตรวจจับค่าพามิเตอร์ทั้ง 8 ค่านี้ในเวลาเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีค่า out-of-control ตรวจจับได้ในแผนภูมิเดี่ยว แต่ในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุพบว่าข้อมูลตัวที่ 12 นั้นเป็น out-of –control ในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ

56360251e77b469718b37b68ce1efd4c

ในการค้นหาสาเหตุว่าทำข้อมูลตัวที่ 12 ถึงเป็น out-of-control ในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ ผมใช้กราฟ (Scatter plot) ในการวิเคราะห์แนวโน้ม (trend) จะเห็นได้ว่าพารามิเตอร์ X3, X4 และ X5 นั้นเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการ out-of-control ในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุเพราะมีจุดที่ทิ้งห่างออกไปจากจุดข้อมูลอื่นๆ

f68088341ae349ab41ee69ffa02579f8
250addfd138fcbc17e8a1b421bee3770
5e96d5c274efa3950498207718513346

บทสรุป

เมื่อพารามิเตอร์ของกระบวนการไม่มีอิทธิพลโดยตรงใดๆ การใช้แผนภูมิควบคุมตัวแปรเดี่ยวอาจไม่มีความจำเป็น ส่วนแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุสามารถทำให้จำนวนเครื่องมือที่ไว้ทวนสอบกระบวนการอยู่เป็นประจำนั้นมีจำนวนลดลง วัตถุประสงค์หลักของแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ คือ การทำความเข้าใจกระบวนการได้ดีขึ้น จุด out-of-control ที่แสดงในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุ จะแสดงให้เห็นว่าคุณภาพกำลังมีปัญหาหรือไม่ ในการควบคุมประบวนการให้ดีขึ้น คุณจะต้องทำการประเมินให้ได้ว่าพารามิเตอร์ในขั้นตอนต้นน้ำนั้นส่งผลกระทบอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้าย แผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุยังใช้ได้ดีในการตรวจจับแบบ 3 มิติ การค้าหาสาเหตุของจุด out-of-control ในแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแปรเชิงพหุเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ


บทความต้นฉบับ : A simple Guide to Multivariate control chart

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ