แนวทางการแก้ไข : การใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิต

ในระหว่างการรักษาผู้ป่วย แพทย์จะใช้ประสบการณ์ ความรู้ การทำงานร่วมกันในทีม และเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ดีที่สุด แต่ในการใช้วิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เว้นแต่แพทย์จะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เข้าถึงการรักษาที่สมควรใช้
เมื่ออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นไม่สามารถใช้งานได้อันเนื่องมาจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซม ซึ่งทำให้ความสามารถของแพทย์ในการช่วยชีวิตนั้นลดลง แต่โครงการคุณภาพด้านสาธารณสุขแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือมีความสำคัญอย่างไรบ้างโดยเฉพาะกับเครื่องมือบางอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถช่วยโรงพยาบาลและแพทย์ที่จะใช้เครื่องมือในการบริการกับผู้ป่วย

ทีมงาน Six Sigma ใน Amman, Jordan ได้ตรวจสอบปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการหยุดของเครื่องมือ (Equipment downtime) และทำการหากระบวนการบำรุงรักษาที่สามารถช่วยทำให้เครื่องมือสามารถใช้งานได้ โดยการใช้ความรู้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Minitab ทีมงานได้ใช้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือวิธีใหม่ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่าเครื่องมือนั้นพร้อมใช้งานทันทีที่ต้องการ

ทีมงานใช้โปรแกรม Minitabในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำให้สามารถหาได้ว่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีเปอร์เซ็นต์เสียหาย (Downtime percentage) สูงสุด เพื่อประเมินสาเหตุที่เครื่องมือใช้ไม่ได้ และปรับปรุงให้อัตราการใช้เครื่องมือ (Equipment availability) ในโรงพยาบาลดีขึ้น

สิ่งท้าทาย

ตามผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) 50% ของเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สามารถทำงานได้ หรือ ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากนโยบายการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ส่งผลต่อเครื่องมือที่อาจจะเสียหายมากขึ้น ทีมงานได้ค้นหาหนทางที่ทำให้ปัญหานี้เกิดน้อยที่สุด ทีมงานทำการรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาล 7 แห่งเป็นเวลา 7 ปี และประเมินกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องมือประเภทต่างๆ 700 ชนิด และแต่ละเครื่องมือจะถูกจัดกลุ่มแยกตามสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือเสียหาย(Downtime)

ทีมงานใช้โปรแกรมสถิติ Minitab ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ระบุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีเปอร์เซ็นต์เครื่องมือเสียหาย(Downtime) สูงสุด ประเมินหาสาเหตุและปรับปรุงความสามารถในการให้บริการอุปกรณ์ในโรงพยาบาล

การทำงานนี้เป็นไปตามกรอบของ Six Sigma  ตามแนวทาง DMAIC เมื่อ D คือ การกำหนดปัญหา (define), M คือ การวัด (measure),  A คือ การวิเคราะห์ (analyze), I คือ การพัฒนาหรือปรับปรุง (improve)  และ C คือ การควบคุม (control) นอกจากนั้นทีมงานจะทำการค้นหาสาเหตุของความผันแปรของการหยุดของเครื่องมือ เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างที่สุด และท้ายที่สุดทีมงานต้องการปรับปรุงวิธีการซ่อมแซมเครื่องมือเพื่อทำให้เครื่องมือกลับมาใช้งานได้อย่างทันทีเพื่อให้พร้อมในการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วย

Minitab ช่วยอย่างไร

หลังจากที่ทำการเก็บข้อมูลเรื่องเวลาที่เครื่องมือเสีย (downtime) โดยแยกตามชนิดของเครื่องมือและสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือเสียหายของแต่ละโรงพยาบาล ทีมงานของโครงการใช้ Minitab เพื่อหาว่าเครื่องมือชนิดใดที่มีเปอร์เซ็นต์การหยุดของเครื่องมือสูงสุดและสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้เครื่องมือเหล่านั้นใช้ไม่ได้

การแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพพาเรโต (Pareto Chart) ทำให้ทีมงานเห็นว่า ความเสียหายหลักของเครื่องมือมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านไฟฟ้า  และเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายสูงสุดอยู่กับเครื่องมือประเภทการค้นหาสาเหตุและประเภทช่วยชีวิต พวกเขายังจัดลำดับความสำคัญตามประเภทของเครื่องมือ  โดยการบำรุงรักษาเครื่องมือนั้นจะจัดเป็นลำดับที่ 1 (Priority 1) หมวดหมู่นี้จะรวมถึงผลวิกฤต (Critical) ความพิเศษ (Specialized) และความขาดแคลนของเครื่องมือ (Scarce) ซึ่งได้แก่ เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เครื่องดมยาสลบ (Anesthesia machine) เครื่องมือวิเคราะห์แก๊สในเลือด (Blood gas analyzer) เครื่องเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Machine) เครื่องถ่ายเอกซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CT Scanner)

Jordanparetochart
แผนภาพพาเรโตด้านบน แสดงให้เห็นว่าสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้เครื่องมือเสียหาย และเพื่อให้ดูว่าจะต้องมีการปรับปรุงที่ส่วนใดมากที่สุด

ทีมงานใช้การวิเคราะห์ความสามารถเพื่อชี้ให้เห็นว่ากระบวนการบำรุงรักษานั้นสามารถทำให้การหยุดของเครื่องมือของแต่ละโรงพยาบาลนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะหรือไม่ และเพื่อดูว่ากระบวนการเหล่านั้นจะต้องมีการปรับแก้หรือไม่ ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่ากระบวนการบำรุงรักษาเครื่องมือในแต่ละโรงพยาบาลนั้นมีโอกาสที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้

Jordanprocesscapability
Capability Sixpack แสดงข้อมูลทั่วไป โดยแสดงอยู่ในหน้าจอเดียวกันเพื่อให้สามารถประเมินกระบวนการได้ง่ายขึ้น

ผลลัพธ์

หลังจากที่ได้ชนิดของเครื่องมือ และสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือเสียบ่อยที่สุดมาแล้ว ทีมงานใช้การวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) ใน Minitab เพื่อทำการหาปัจจัยหลักที่ทำให้มีผลต่อเวลาที่เครื่องมือเสีย การวิเคราะห์พบว่า เวลาในการซ่อมบำรุงไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีเครื่องมือใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ แต่เป็นเพราะเวลาที่การค้นหาสาเหตุว่าทำไมเครื่องมือถึงเสีย เวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะซ่อมแซมด้วยวิธีการใด และการส่งคืนเครื่องมือหลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้ว  และยังมีปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวขัดขวางกระบวนการซ่อมแซมได้แก่ ความล่าช้าในการค้นหาความเสียหายของเครื่องมือ การลงทะเบียนขอรับการบริการซ่อม และการปิดงานซ่อม

จากการวิเคราะห์การถดถอย ทีมงานพบว่ามีปัจจัยที่สามารถทำให้เวลาที่เครื่องมือเสียลดลงได้ พวกเขาทำการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการซ่อมแซม ด้วยการใช้แผนภูมิควบคุมที่สร้างด้วย Minitab เพื่อตรวจติดตามสมรรถนะการทำงานของเจ้าหน้าที่ เวลาที่เครื่องมือเสีย เวลาที่ใช้ในการจัดซื้อ เวลาที่ใช้ในการหาว่าจะซ่อมแซมด้วยวิธีการใด และเวลาในการส่งมอบเครื่องมือที่ซ่อมแซมเสร็จแล้ว

Jordanimrchart
แผนภูมิควบคุมที่สร้างตามข้อมูลที่เรียงตามเวลาเพื่อจำแนกความผันแปร ซึ่งทำให้ทีมงานง่ายต่อการนำไปใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บมาก่อนและหลังจากการปรับปรุง

หลังจากนั้นพวกเขาได้ทำการทดสอบระบบใหม่ที่ได้ใช้งานกับเครื่องมือหนึ่งประเภท ซึ่งทำให้เวลาที่เครื่องมือเสียลดลงไป 35% เพิ่มค่า sigma level จาก 2.881 เป็น 3.708 โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

เครื่องมือด้านคุณภาพ อย่างเช่น แผนภาพพาเรโต (Pareto Chart)  Capability Sixpack และ แผนภูมิควบคุม (Control Chart) ที่ใช้กับกระบวนการใหม่เพื่อดูว่าเวลาที่เครื่องมือเสียหายนั้นควรเป็นเท่าไหร่ และหาว่าวิธีการรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสมคืออะไร เมื่อเริ่มต้นใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและกระบวนวิธี Six Sigma ในระบบเครื่องมือแพทย์มากขึ้น โครงงานต่างๆ ตามที่กรณีนี้ที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ไม่ได้ทำโดยตรงกับผู้ป่วย เช่นการจัดการเครื่องมือ สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถของเครื่องมือที่ทำให้คุณภาพของผู้ป่วยดีขึ้น


เรื่องนี้ดัดแปลงมาจาก a case study presented at the 2012 International Conference on Industrial Engineering and Operations Management in Istanbul, Turkey.


บทความต้นฉบับ : On the Mend: Using Data to Boost Access to Life-Saving Medical Equipment

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ